Boron : โบรอน
โบรอน (B) รูปที่เป็นประโยชน์สำหรับพืชคือ โบเรตอิออน ซึ่งมีในน้ำธรรมชาติหรือได้จากการเติมกรดบอริก (H3BO3) โบรอนช่วยกระตุ้นให้เกิดการแบ่งและการเจริญเติบโตของเซลล์ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น (ถวัลย์, 2534) โบรอนช่วยในการผสมเกสรและ มีบทบาทสำคัญในการติดผล ถ้าพืชขาดโบรอน ตายอดตาย ต้นยืดยาวใบเล็กหนา ต้นโค้งและเปราะ ในสตรอเบอร์รี่ถ้าขาดธาตุโบรอนจะทำให้จุดเนื้อเยื่อเจริญตรงส่วนปลายตายได้ และตาข้างถูกสร้างเป็นลำต้นแขนงมาก ต้นแคระแกร็น
บทบาทของโบรอนมีดังนี้
1. ธาตุนี้ในผนังเซลล์เกือบทั้งหมดรวมอยู่กับสารเพ็กทิก โดยอยู่ในสารเชิงซ้อนชื่อแรมโนกาแลกทูรอแนน II ซึ่ง
เป็นพอลิแซกคาไรด์ที่มีในสารเพ็กทิก อันเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ปฐมภูมิจึงทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง และมีความ
ยืดหยุ่น
2. ช่วยให้เยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออแกเนลมีโครงสร้างสมบูรณ์ และทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
3. โบรอนกระตุ้นกิจกรรมของ H+ - ATPase ได้เมื่อมีออกซิน จึงมีบทบาทในการสร้างศักย์เยื่อและส่งเสริมการดูด
ธาตุอาหารต่างๆ
4. ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของน้ำตาลและอินทรียสารโมเลกุลเล็กๆทางโฟลเอ็ม ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล จึง
ช่วยให้ยอดอ่อน รากอ่อน ดอกและผลเจริญได้ตามปกติ
5. มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของพืชในระยะเจริญพันธุ์ เช่น ทำให้ดอกและละอองเรณูสมบูรณ์ งอกได้ดี
ยอดเกสรเพศเมียพร้อมที่จะรับละอองเรณู ส่งเสริมการพัฒนาเมล็ด ได้เมล็ดที่สมบูรณ์และมีความงอกดี
การขาดโบรอนในช่วงการกำเนิดไมโครสปอร์ (microsporegenesis) ของดอกข้าวสาลี ทำให้เกสรเพศผู้ในอับเรณู
(anthers) เป็นหมัน (male sterility) เนื่องจากธาตุนี้มีบทบาทในการพัฒนาและการทำหน้าที่ของเซลล์ในผนังอับเรณู โดย
โบรอนช่วยในการเคลื่อนย้ายซูโครสไปเลี้ยงเซลล์ที่กำลังขยายขนาดได้อย่างเพียงพอ เซลล์เหล่านั้นจึงเจริญได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้โบรอนยังส่งเสริมเมแทบอลิซึมของซูโครสในเซลล์ของผนังอับเรณู ตลอดจนไมโครสปอร์ที่อยู่ภายในด้วย
ไม่มีความคิดเห็น: