โรคแมลงศัตรูในมะนาว

nano zinc oxide : นาโนซิงค์ออกไซต์

เทคนิคการให้ปุ๋ยมะนาว

gibberellic acid : ผลิตฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลริคแอซิดจากหัวปลี

การขยายพันธุ์มะนาว

วิธีขยายพันธุ์มะนาวด้วยใบ

มะนาว เป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างที่น่าสนใจ เพราะปัอ่านต่อ

การขยายพันธุ์มะนาวด้วยการปักชำ

ทุกวันนี้ มะนาวมีราคาแพง และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในกาอ่านต่อ

การเสียบยอดมะนาว

การขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด เป็นการนำเอากิ่งพันธุ์ดี อ่านต่อ

ข่าวสาร

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

hydroponic nutrient solution tomato : สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์มะเขือเทศ

สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์มะเขือเทศเพื่อการค้า ปลูกในระบบวัสดุป...

hydroponic nutrient solution melon : สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์เมล่อน

สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์เมล่อนเพื่อการค้า ปลูกในระบบวัสดุปล...

Hydroponic Granpa Farm Rikuzentakata : ไฮโดรโพนิคส์โดม

ฟาร์มไฮโดรโพนิคส์เป็นโดมขนาดใหญ่ มองเห็นแต่ไกลแห่งนี้ ...

ชนิดของผักที่ปลูก(Hydroponics ตอนที่7)

ชนิดของผักที่ปลูก(Hydroponics ตอนที่7) การเลือกชนิดข...

ระบบปลูกผักไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 6)

ระบบปลูกผักไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่6) http://th...

การเพาะกล้าผักระบบไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 5)

การเพาะกล้าผักระบบไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 5) h...

การผสมสูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่4)

การผสมสูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 4) สวั...

ไลฟ์ลี่ เวจจี้ ฟาร์ม แปลงผักสลัดในกรุง


'ไลฟ์ลี่ เวจจี้ ฟาร์ม' แปลงผักสลัดในกรุง


หากเราใช้เส้นทางถนนราษฎร์พัฒนา แยกจากถนนรามคำแหง ที่ชาวบ้านเรียกติดปาก “แยกมิสทีน” ลึกเข้าไปบรรจบเส้นทางเลียบถนนกาญจนภิเษก (วงแหวนตะวันออก) ในพื้นที่แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ ด้านซ้ายมีซอยเล็กๆ ราษฎร์พัฒนา 23 มีป้ายสีเขียวอ่อนพอสะดุดตา “ไลฟ์ลี่ เวจจี้ ฟาร์ม” จำหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์ ปลีก-ส่ง บริการถึงบ้าน เห็นแล้วสนใจจึงแวะเข้าไปชมฟาร์ม พบว่าเป็นแปลงปลูกพืชผักไฮโดรโปนิกส์ หรือผักสลัดขนาดย่อมในพื้นที่ ราว 140 ตารางวา ของสาวใหญ่วัย 45 ปี “ณัฐนรี ธนาดลธัมธาดา” หรือ “ชุน” ที่หันมายึดอาชีพเกษตรแบบเรียบง่ายใกล้ๆ บ้านพักของตัวเอง
 
                      ภายในฟาร์มมีโต๊ะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 12 ชุด เป็นโต๊ะปลูกขนาดกว้าง 1.50 เมตร ยาว 12 เมตร จำนวน 8 ราง สามารถปลูกผักสลัดได้ 450 ต้น แบ่งเป็นโต๊ะเพาะต้นกล้าและอนุบาลอย่างละ 1 โต๊ะ ที่เหลือเป็นโต๊ะปลูกผักสลัดเพื่อจำหน่ายจำนวน 10 โต๊ะ ซึ่งแต่ละโต๊ะจะมีผักสลัดขนาดไม่เท่ากันเนื่องจากเป็นการปลูกที่ต้องเว้นช่องแห่งเวลาการปลูกที่ไม่ให้ผักโตพร้อมกันเพื่อให้มีผักขายได้ทุกวันนั่นเอง
 
 
 
 
                      ก้าวแรกที่อย่างเข้าไปในฟาร์มปลูกไฮโดรโปนิกส์แห่งนี้จะแลเห็นผักสลัดประกอบด้วยกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค กรีนคอส บัตเตอร์เฮด เรดคอรัล และฟิลเลย์ ชูใบสดสวยงามอย่างน่ารับประทาน ทำให้ใจสะดุด ให้สมองนึกคิดถึงภาคการเกษตรที่สะท้อนให้เห็นว่าคนเราถ้าตั้งใจจะทำมาหากินยึดอาชีพเป็นเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ไม่จำเป็นจะต้องใช้พื้นที่แปลงใหญ่ มีเพียง 1-2 งาน หากบริหารจัดการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคก็สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ถ้ารู้จักคำว่า “พอเพียง”
 
                      กว่าจะเป็นเกษตรกรในเมืองกรุงของณัฐนรี เธอย้อนอดีตว่าชีวิตการทำงานเริ่มต้นมาจากมนุษย์เงินเดือนในฐานะพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ดำเนินกิจการด้านออร์แกไนเซอร์ ในบริบทของดีไซเนอร์ นักออกแบบงานอีเวนท์ แต่การทำงานของเธอในช่วงนั้นเสมือนหนึ่งเป็นการหาประสบการณ์ชีวิตก่อนที่จะไต่เต้าสู่เป้าหมายที่ใฝ่ฝันคือ “ธุรกิจของตัวเอง” ที่ตั้งใจจะเป็นผู้บริหาร
 
                      ในที่สุดก็สานฝันได้สำเร็จ ในปี 2552 มีบริษัทออร์แกไนเซอร์เป็นของตัวเอง และเป็นงานตรงกับความรู้ที่เล่าเรียนมา โดยเอาความรู้จากที่จบด้านศิลปศาสตร์ ในระดับปริญญาตรีจากสถาบันชั้นนำของประเทศ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ผสมผสานกับความรู้ด้านการบริหารที่จบคณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรังสิต แต่กระนั้นธุรกิจของเธอไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ พอลงมือทำจริงผ่านไป 1 ปี ดูเหมือนว่าโชคไม่เข้าข้าง บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย มีการประท้วงและปิดถนนสายธุรกิจหลักของประเทศที่ถนนราชประสงค์ในปี 2553 ทำให้ลูกค้าต่างประเทศยกเลิกโดยไม่มีกำหนด
 
 
 
 
                      “ปีแรกทำท่าไปได้สวย มีลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ พอมีม็อบและเผาห้างเวิลด์เทรด ลูกค้ารายใหญ่จากต่างประเทศที่มูลค่าจ้างงานเป็นหลักล้านบาทบางรายยกเลิกไปจัดที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ลูกค้าคนไทยขอเลื่อนไม่มีกำหนด ทำให้สถานภาพของบริษัทเริ่มสั่นคลอน แต่เราก็ประคองได้ มาเจอน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 คราวนี้ต้องบอกกับตัวเองว่าไม่ไหวแล้ว ตอนนั้นเครียดมาก จึงต้องปิดบริษัทไป” ณัฐนรี กล่าว
 
                      หลังจากที่ปิดบริษัทแล้ว ณัฐนรีต้องพักผ่อนเป็นแรมเดือนเพื่อหาช่องทางใหม่ จึงมองว่าตัวเองเป็นคนชอบรับประทานสลัดผัก ประกอบคนสมัยใหม่หันมาสนใจเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารการกินที่คนเริ่มลดพวกเนื้อสัตว์ที่มันๆ หันมาบริโภคผัก โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษ จึงนึกว่าน่าจะปลูกพืชผักสลัด แต่ปัญหาติดตรงที่ว่าเป็นคนมือร้อนปลูกต้นไม้ไม่ขึ้น แม้แต่ แคคตัส (ตะบองเพชร) ที่ขึ้นตามทะเลทรายปลุกแล้วยังตาย แต่แฟนเป็นคนมือเย็น ชอบด้านการเกษตร ให้กำลังใจมาตลอด จึงตัดสินใจว่าจะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จากนั้นจึงศึกษาเกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ พร้อมกับไปดูงานและอบรมตามสถานที่ต่างๆ และตระเวนหาทำเลที่เหมาะอีกหลายแห่ง
 
                      วันเวลาผ่านไปเป็นแรมปี ไปพบกับพื้นที่ว่างแห่งหนึ่งในซอยราษฎร์พัฒนา 23 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง ห่างจากบ้านพักในหมู่บ้านธารารมณ์ ถนนรามคำแหง 166 ที่ทะลุถนนราษฎร์พัฒนาไม่กี่ร้อยเมตร เมื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหมู่บ้านของคนชนชั้นกลางขึ้นไป ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง จึงตัดสินใจขอเช่าในราคาเดือนละ 6,000 บาท ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในนาม “ไลฟ์ลี่ เวจจี้ ฟาร์ม” กระนั้นเธอยอมรับว่าคนกลุ่มนี้บางครั้งอาจไม่มีเวลาพอที่จะเข้าที่ฟาร์ม จึงคิดวิธีการหาตลาดแบบใหม่คือบริการถึงที่ ถ้าลูกค้าอยู่ในละแวกรัศมีไม่เกิน 2 กม.และซื้อไม่ต่ำกว่า 2 กก.ในราคา กก.ละ 130 บาท แต่ถ้าซื้อ 5 กก.ขึ้นไปคิดราคาส่ง กก.ละ 100 บาท ฟาร์มจะส่งถึงหน้าบ้านในเวลาอันรวดเร็ว
 
 
 
 
                      “แรกๆ ลูกค้ายังไม่ค่อยรู้จัก จึงใช้วิธีติดป้ายหน้าปากซอย และตามหมู่บ้านในละแวกเดียวกัน พร้อมๆ กับการใช้โซเชียลมีเดีย โพสต์ตามเฟซบุ๊ก ww.facebook.com/LivelyVeggie คนเริ่มรู้จักมากขึ้นทุกวันนี้มีลูกค้าประจำเพิ่มขึ้น สามารถสร้างรายได้เดือนละ 4-5 หมื่นบาทหักค่าใช้จ่าย ทำอยู่กับบ้าน ใช้ชีวิตอยู่พอเพียงสามารถเลี้ยงตัเองได้” เจ้าของฟาร์มกล่าว
 
                      “ไลฟ์ลี่ เวจจี้ ฟาร์ม” แม้จะเป็นเปลงปูกผักไฮโดรไปนิกส์ขนาดกะทัดรัด แต่ด้วยระบบบริหารและจัดการทั้งในรูปแบบการจัดช่วงจังหวะเวลาปลูกให้มีผลผลิตสม่ำเสมอ และอ่านทะลุถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย ก็สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับผู้ที่มีพื้นที่อันจำกัดในสังคมเมืองก็สามารถทำการเกษตรและสร้างได้ให้ครอบครัวได้

บทความที่ได้รับความนิยม

รวบรวมองค์ความรู้ด้านเกษตร การเกษตรสมัยใหม่ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมและภูมิปัญญาในการพัฒนาสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณภาพ และมาตรฐานของสินค้าเกษตรให้ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

ขับเคลื่อนโดย Blogger.