โรคแมลงศัตรูในมะนาว

nano zinc oxide : นาโนซิงค์ออกไซต์

เทคนิคการให้ปุ๋ยมะนาว

gibberellic acid : ผลิตฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลริคแอซิดจากหัวปลี

การขยายพันธุ์มะนาว

วิธีขยายพันธุ์มะนาวด้วยใบ

มะนาว เป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างที่น่าสนใจ เพราะปัอ่านต่อ

การขยายพันธุ์มะนาวด้วยการปักชำ

ทุกวันนี้ มะนาวมีราคาแพง และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในกาอ่านต่อ

การเสียบยอดมะนาว

การขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด เป็นการนำเอากิ่งพันธุ์ดี อ่านต่อ

ข่าวสาร

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

hydroponic nutrient solution tomato : สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์มะเขือเทศ

สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์มะเขือเทศเพื่อการค้า ปลูกในระบบวัสดุป...

hydroponic nutrient solution melon : สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์เมล่อน

สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์เมล่อนเพื่อการค้า ปลูกในระบบวัสดุปล...

Hydroponic Granpa Farm Rikuzentakata : ไฮโดรโพนิคส์โดม

ฟาร์มไฮโดรโพนิคส์เป็นโดมขนาดใหญ่ มองเห็นแต่ไกลแห่งนี้ ...

ชนิดของผักที่ปลูก(Hydroponics ตอนที่7)

ชนิดของผักที่ปลูก(Hydroponics ตอนที่7) การเลือกชนิดข...

ระบบปลูกผักไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 6)

ระบบปลูกผักไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่6) http://th...

การเพาะกล้าผักระบบไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 5)

การเพาะกล้าผักระบบไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 5) h...

การผสมสูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่4)

การผสมสูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 4) สวั...

วิธีปลูกมะนาวไม่ใช้ดิน



เชื่อกันมาตั้งแต่เด็ก ทำเกษตรปลูกพืชผักต้องลงดินถึงจะได้ผลดี แม้วันนี้จะมีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์กันแล้ว แต่จำกัดใช้ได้กับพืชบางชนิดเท่านั้น...พืชส่วนใหญ่ที่หยั่งรากลึกยังต้องใช้ดินเหมือนเดิม
แต่ก็มีเกษตรกรที่ไม่เคยหยุดคิด ได้พัฒนาหาวิธีการปลูกพืช นำวัสดุชนิดใหม่ที่ไม่ใช่ดิน แถมให้ผลผลิตสูง โรคน้อย ในแบบที่ไฮโดรโปนิกส์ทำไม่ได้
นายวโรชา จันทโชติ เจ้าของสวนวโรชา ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ต้นตำรับ “มะนาวแป้นวโรชา” เนื้อแน่น น้ำเยอะ เปลือกบาง ไร้เมล็ด ที่สำคัญทนต่อโรค เล่าให้ฟังถึงที่มาของการทำวัสดุปลูกทดแทนดิน...จุดเริ่มต้นมาจากในพื้นที่มีน้ำท่วมอยู่เป็นประจำเกือบทุกปี



จึงทดลองปลูกมะนาวลงในกระถางเพื่อหนีน้ำท่วม แต่เมื่อเอาดินลงกระถาง เกิดปัญหาดินแน่นและชุ่มน้ำ รากมะนาวเน่าตาย จึงทดลองใช้วัสดุอื่นๆ มาทดแทนดิน แบบลองผิดลองถูกมาตลอด... ในที่สุดมาลงตัวที่ผักตบชวา

เพราะมีข้อดี หาได้ง่ายจากธรรมชาติเสมือนเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมไปในตัว มีลักษณะร่วนซุย ไม่อมน้ำ ทำให้รากพืชชอนไชได้ดี หากินได้ง่าย ดูดซึมอาหารและแร่ธาตุได้เต็มที่
สำหรับกรรมวิธีทำวัสดุทด แทนดิน ก่อนอื่นต้องเตรียมวัสดุส่วนผสมทั้งหมด...ปูนมาล หรือแคลเซียมคาร์โบเนต, ขุยมะพร้าว, แกลบดิบ (ควรเป็นแกลบค้างปี), ขี้เถ้าแกลบ, ผักตบชวา หรือเศษไม้ใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่น (ถ้าเป็นใบก้ามปูจะดีมาก) คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ให้เข้ากัน
จากนั้นใส่น้ำหมัก หรือ EM สัดส่วน 1 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร ราดลงไปและที่ขาดไม่ได้ “ยาฆ่าเชื้อรา” หากไม่ใส่มีโอกาสสูงที่วัสดุทดแทนดินจะเกิดเชื้อรา ทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผล... ขั้นตอนต่อมาใช้แสลนคลุมหมักทิ้งไว้ 15 วัน ถึงจะสามารถนำไปใช้งานได้







ส่วนกรรมวิธีการปลูก วโรชา แนะให้นำมาใส่ในวงบ่อซีเมนต์ ให้แบ่งวงบ่อเป็น 4 ส่วน...3 ส่วนแรก ให้นำผักตบชวา หรือเศษไม้ใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่น รองก้นบ่อลงไปก่อน เพื่อเป็นการประหยัดและช่วยให้มีน้ำหนักเบา อีก 1 ส่วนที่เหลือ ให้ใส่วัสดุทดแทนดินนี้ลงไปตรงกลาง

เพียงเท่านี้สามารถนำต้นไม้ลงไปปลูกได้ เมื่อวัสดุทดแทนดินยุบตัวลง ให้เติมตามสัดส่วนที่ยุบและควรทำไม้ค้ำยันต้นไม้ไว้เพื่อกระชับ เพราะลักษณะวัสดุทดแทนดินนี้จะร่วนซุยมาก ถ้าไม่ค้ำยันต้นไม้จะล้มทำให้เกิดความเสียหายได้

http://thairath.co.th/content/363632

บทความที่ได้รับความนิยม

รวบรวมองค์ความรู้ด้านเกษตร การเกษตรสมัยใหม่ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมและภูมิปัญญาในการพัฒนาสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณภาพ และมาตรฐานของสินค้าเกษตรให้ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

ขับเคลื่อนโดย Blogger.