วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Molybdenum : โมลิบดินัม



โมลิบดินัม (Mo) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ 2 ชนิด คือไนโตรจีเนส (Nitrogenese) ซึ่งสำคัญต่อการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และไนเตรทรีดักเตส  (Nitrate reductase) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรีดิวส์ไนเตรทให้เป็นไนไตรท์ พืชสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในรูปโมลิบเดตอิออน (MoO42-) ซึ่งอาจได้จากสารแอมโมเนียมโมลิบเดต หรือโซเดียมโมลิบเดต อาการขาดโมลิบดีนัมในมะเขือเทศจะเกิดเนโครซีส (Necrosis) คือพืชจะแสดงอาการแห้งตายและขอบใบหงิกงอ ดอกร่วง ถ้าติดผลจะเล็กแคระแกร็น พืชผักจะแสดงอาการขาดที่ใบแก่ มีจุดด่างแต่เส้นใบยังเขียวอยู่และจะขยายไปเรื่อย ๆ เมื่อมีอาการมาก ๆ ใบจะม้วนเข้าปลายใบจะแห้งตาย 

บทบาทของโมลิบดีนัมมีดังนี้
1. มีบทบาทในการตรึงไนโตรเจน เนื่องจากไนโทรจีเนสเป็นเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการตรึงไนโตรเจนของ
จุลินทรีย์ ประกอบด้วยโปรตีนที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกคือ Mo-Fe-โปรตีน ส่วนชนิดที่สองเป็นโปรตีน
ที่มีเหล็กเพียงอย่างเดียว
2. เกี่ยวข้องกับการใช้ไนเทรตไอออนที่เซลล์พืชดูดได้ เนื่องจากเอนไซม์ไนเทรต รีดักเทส (nitrate reductase) ซึ่ง
ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยารีดักชันของไนเทรตเป็นไนไทรต์ เป็นเอนไซม์ที่มีเหล็กและโมลิบดีนัมในโครงสร้าง
3. เอนไซม์อื่นๆ ที่ต้องการโมลิบดีนัม ได้แก่ 1) ซานทิน ออกซิเดส/ดีไฮโดรจีเนส ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้
สารประกอบที่ได้จากการตรึงไนโตรเจนในปมรากถั่ว และ 2) และเอนไซม์ซัลไฟต์รีดักเทสในกระบวนการใช้ประโยชน์
กำมะถัน
4. มีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยให้ไรโบโซมประสานกับอาร์เอ้นเอนำรหัส
5. มีบทบาททางใดทางหนึ่งในกระบวนการสังเคราะห์วิตามินซี
6. มีอิทธิพลต่อโครงสร้างของเยื่อ เนื่องจากมีบทบาทในการสังเคราะห์ฟอสโฟลิพิด

7. ช่วยให้เมล็ดพืชมีชีวิต (viability) และแข็งแรง (vigor)

1 ความคิดเห็น: