คลอรีน ในน้ำจะมีคลอรีนอยู่ในรูปคลอไรด์อิออน (Cl-) ซึ่งเป็นรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้น้ำแตกตัวในกระบวนการสังเคราะห์แสงและยังจำเป็นสำหรับราก การแบ่งเซลล์ของใบและเป็นตัวทำละลายที่มีความสำคัญในการดูดน้ำ ถ้ามีปริมาณมากเกินไปจะไปยับยั้งการนำธาตุที่อยู่ในรูปประจุลบตัวอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ อาการขาดคลอรีนคือ พืชจะมีใบเหลือง ใบเหี่ยวตายเป็นจุด ๆ หรือใบมีลักษณะซีดขาว เพราะว่ากระบวนการสังเคราะห์แสงถูกยับยั้ง รากแคระแกร็น ปลายรากหนา ผลผลิตลดลง ในพืชผักจะทำให้ส่วนยอดชะงักการเจริญเติบโต กิ่งก้านแข็งกระด้างเกิดจุดสีน้ำตาลหรือดำในส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะผักที่ห่อหัว เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำปม และผักกาดต่าง ๆ
บทบาทของคลอรีนมีดังนี้
1. มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาฮิลล์ของคลอโรพลาสต์ จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับการแยกน้ำให้เป็นออกซิเจนใน ระบบแสง II อันเป็นบริเวณเดียวกับที่แมงกานีสมีบทบาทในเรื่องนี้
2. ช่วยในการควบคุมการเปิดและปิดปากใบ โดยเสริมการทำงานของโพแทสเซียมซึ่งมีหน้าที่โดยตรง สำหรับการ เปิดและปิดของปากใบมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช
3. ทำหน้าที่เร่งกิจกรรมของ ATPase ที่โทนอพลาสต์ (เยื่อหุ้มแวคิวโอล) เพื่อให้เกิดการสะสมไอออนและตัว ละลายภายในแวคิวโอล เพิ่มการดูดน้ำของเซลล์ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เซลล์เต่งและยึดตัว
บทบาทของคลอรีนมีดังนี้
1. มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาฮิลล์ของคลอโรพลาสต์ จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับการแยกน้ำให้เป็นออกซิเจนใน ระบบแสง II อันเป็นบริเวณเดียวกับที่แมงกานีสมีบทบาทในเรื่องนี้
2. ช่วยในการควบคุมการเปิดและปิดปากใบ โดยเสริมการทำงานของโพแทสเซียมซึ่งมีหน้าที่โดยตรง สำหรับการ เปิดและปิดของปากใบมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช
3. ทำหน้าที่เร่งกิจกรรมของ ATPase ที่โทนอพลาสต์ (เยื่อหุ้มแวคิวโอล) เพื่อให้เกิดการสะสมไอออนและตัว ละลายภายในแวคิวโอล เพิ่มการดูดน้ำของเซลล์ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เซลล์เต่งและยึดตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น