การผสมสูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่4)

การผสมสูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 4)




สวัสดีชาวดินปุ๋ยดอทคอมทุกท่านนะครับ บทความนี้ก็เป็นบทความตอนที่ 4 ของการปลูกผักในระบบไฮโดรโพนิคส์แล้วนะครับ หวังว่าท่านจะได้รับความรู้จากบทความของดินปุ๋ยดอทคอมมาพอสมควรแล้วนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงการผสมปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์กันครับ การผสมสารละลายไฮโดรโพนิคส์สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรกๆก็คือ น้ำที่ใช้ในการผสมปุ๋ยนั้นเอง น้ำที่ใช้ผสมปุ๋ยจะต้องเป็นน้ำที่สะอาดมีค่าความเป็นกรด-ด่างที่เป็นกลางเพื่อป้องกันไม่ให้สารละลายที่เราผสมนั้นตกตะกอน ส่วนปุ๋ยที่เราจะใช้ในวันนี้ประกอบไปด้วยปุ๋ยทั้งหมด 10 ชนิดนะครับ ซึ่งผมได้บอกวิธีการเลือกซื้อปุ๋ยไว้ในบทที่แล้วเรียบร้อยแล้วครับ ปุ๋ย 10 ชนิดก็ประกอบไปด้วย โปแตสเซียมไนเตรท แคลเซียมไนเตรท แมกนีเซียมซัลเฟต แอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต เหล็กคีเรท แมงกานีสครอไรด์ กรดบอริก ซิงค์ชัลเฟต ดอปเปอร์ซัลเฟต และโมลิบดินัม เมื่อเรามีปุ๋ยทั้ง 10 ชนิดครบแล้ว เราก็มาเริ่มขั้นตอนการผสมกันเลยครับ วันนี้จะผสมสารละลายที่ใช้สำหรับปลูกผักจำนวน 1000 ลิตรกันนะครับ ให้เตรียมถังน้ำขนาด 60 ลิตรซึ่งมีขายโดยเท่าไป จำนวน 2 ถัง ใส่น้ำสะอาดที่เราจะทำการผสมลงไปถังละ 50 ลิตร ผมจะขอเรียกถังแรกว่า ถัง A ส่วนถังที่ 2 จะเรียกว่าถัง B เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เมื่อใส่น้ำลงในถัง A และB แล้วสิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปคือแบ่งสารปุ๋ยออกเป็น 2 ส่วน เพื่อใส่ลงไปในถัง A และถัง B ปุ๋ยของบ้างบริษัทอาจมี 2 3 หรือ4 ถังขึ้นอยู่กับสูตรปุ๋ยของแต่ละบริษัท เหตุผลที่ต้องมรการแยกก็คือ เพื่อปุ๋ยที่เราผสมลงไปนั้นมีทั้งไอออนบวกและไอออนลบ เมื่อผสมกันในปริมาณเข้มข้นจะทำให้ตกตะกอนได้ ผมจะขอแย่งปุ๋ยของเราออกเป็น 2 ส่วนนะครับ ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย โปแตสเซียมไนเตรท แมกนีเซียมซัลเฟต และแอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต วิธีผสม ใส่ปุ๋ยตัวไหนลงไปก่อนก็ได้ครับแล้วคนให้ละลายจนหมด จากนั้นใส่ปุ๋ยชนิดที่ 2 ลงไปแล้วคนให้ละลายจนหมด ทำจนครบ 3 ชนิดก็เป็นอันเรียบร้อยครับสำหรับสูตร A ส่วนที่ 2 ประกอบด้วย แคลเซียมไนเตรท เหล็กคีเลท แมงกานีสครอไรด์ กรดบอริก ซิงค์ชัลเฟต ดอปเปอร์ซัลเฟต และโมลิบดินัม วิธิผสมก็ทำเหมือนสูตร A แต่ปุ๋ยชนิดสุดท้ายต้องเป็นเหล็กคีเลทครับ เราก็จะได้ปุ๋ยสูตร B ครับ หลังจากที่เราได้สารละลาย A และ B แ้ล้ว เราก็นำไปใช้ได้เลยครับ การนำไปใช้อย่งที่ผมบอกไว้ในตอนแรกนะครับว่าเราเตรียมสารละลายเพื่อใช้กับน้ำในระบบ 1000 ลิตร สำหรับคนที่มีเครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้าก็สามารถนำไปใช้ได้เลย แต่สำหรับคนที่ไม่มีเครื่องมือวัด ผมขอยกตัวอย่าง สมมุดว่าน้ำในระบบปลูกผักของเรามีปริมาณ 100 ลิตร เราก็เติมสารละลาย A ลงไป 5 ลิตร สารละลาย B 5 ลิตร ก็จะได้ความเข้มข้นที่เหมาะสมในการปลูกผักครับ ส่วนใครที่อยากจะผสมให้ใช้ได้มากหรือน้อยกว่าก็ปรับสูตรได้ตามใจชอบเลยครับ เห็นไหมครับว่าการผสมปุ๋ยไอโดรโพนิคส์เพื่อใช้เองไม่ยากเลยใช่ไหมครับ หากใครมีข้อสงสัยก็สามารถสอบถามได้หลังบทความนี้เลยครับ หรือจะเข้าไปที่เฟสบุ๊คของเราก็ได้นะครับ


http://www.china-chemical-supplier.com/d/file/phosphate-series/monopotassium-phosphate.jpg


http://pub2.hi2000.com/upload/0912221540513138.jpg


http://www.dgn.co.th/admin/module/product/gallery/full/PHOTO_615875608_1385227214.jpg