โรคแมลงศัตรูในมะนาว

nano zinc oxide : นาโนซิงค์ออกไซต์

เทคนิคการให้ปุ๋ยมะนาว

gibberellic acid : ผลิตฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลริคแอซิดจากหัวปลี

การขยายพันธุ์มะนาว

วิธีขยายพันธุ์มะนาวด้วยใบ

มะนาว เป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างที่น่าสนใจ เพราะปัอ่านต่อ

การขยายพันธุ์มะนาวด้วยการปักชำ

ทุกวันนี้ มะนาวมีราคาแพง และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในกาอ่านต่อ

การเสียบยอดมะนาว

การขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด เป็นการนำเอากิ่งพันธุ์ดี อ่านต่อ

ข่าวสาร

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

hydroponic nutrient solution tomato : สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์มะเขือเทศ

สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์มะเขือเทศเพื่อการค้า ปลูกในระบบวัสดุป...

hydroponic nutrient solution melon : สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์เมล่อน

สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์เมล่อนเพื่อการค้า ปลูกในระบบวัสดุปล...

Hydroponic Granpa Farm Rikuzentakata : ไฮโดรโพนิคส์โดม

ฟาร์มไฮโดรโพนิคส์เป็นโดมขนาดใหญ่ มองเห็นแต่ไกลแห่งนี้ ...

ชนิดของผักที่ปลูก(Hydroponics ตอนที่7)

ชนิดของผักที่ปลูก(Hydroponics ตอนที่7) การเลือกชนิดข...

ระบบปลูกผักไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 6)

ระบบปลูกผักไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่6) http://th...

การเพาะกล้าผักระบบไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 5)

การเพาะกล้าผักระบบไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 5) h...

การผสมสูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่4)

การผสมสูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์(Hydroponics ตอนที่ 4) สวั...

Brinjal : น้ำน้อยหันมาปลูกมะเขือเปาะสร้างรายได้ดีทุกวัน




นายณรงค์ ผ่องสุวรรณ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การทำ อาชีพปลูกมะเขือเปาะเพียง 1 ไร่ ก็สามารถสร้างรายได้อย่างงดงาม ให้กับครอบครัวทุกวัน ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเกษตรกรผู้ทำนาข้าว ที่จะหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยตามที่รัฐบาลชี้แนะ นอกจากจะไม่เสี่ยงในการขาดทุนแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องทุกวันหากใช้วิธีตัดกิ่งบังคับแตกยอด ออกดอกใหม่


แปลงมะเขือเปาะเพียง 1 ไร่ 1 งาน ของนายณรงค์ ผ่องสุวรรณ อายุ 42 ปี และนางยุพิน ผ่องสุวรรณ อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 111 หมู่ 18 ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม นับเป็นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อย แต่กับสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างงดงาม และทุกวันอีกด้วย ดังนั้นเขาจึงไม่กลัวผลกระทบกับการที่รัฐบาลออกมาเตือนให้เกษตรกรผู้ทำนาข้าวงดการทำนาชั่วคราว เนื่องจากช่วงปลายปีนี้จะเกิดภัยแล้งอย่างหนัก และทางกรมชลประทานก็จะทำการปิดประตูส่งน้ำในระบบชลประทานในวันที่ 1 ธันวาคม 2558 นี้แล้ว


ทั้งนี้นายณรงค์ ยังกล่าวว่า การปลูกมะเขือเปาะหากเรามีการดูแล และรู้จักหาวิธีกระตุ้นการเจริญเติบโต เราก็จะสามารถมีผลผลิตให้ได้เก็บอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงไม่จำเป็นต้องปลูกจำนวนหลายไร่ อย่างเช่นแปลงนี้ก็แค่ 1 ไร่ 1 งาน ที่ทำการปลูกไว้ 2 รุ่น เพื่อแบ่งเก็บผลผลิตได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน และเมื่อต้นมีอายุมากขึ้นก็ยังสามารถตัดกิ่ง เพื่อบังคับให้มีการแตกหน่อ ออกดอก และติดลูกได้เหมือนเดิมอีกด้วย ดังนั้นในแต่ละวันจึงสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 80 กิโลกรัม ซึ่งราคารับซื้อในขณะนี้ก็ตกกิโลกรัมละ 10 บาท ก็ได้เงินไว้ใช้จ่ายในครอบครัวอย่างไม่เดือดร้อนวันละ 800 บาท นอกจากนั้นยังปลูกต้นหอมแบ่ง และกระชายไว้อีกอย่างละ 1ไร่ ซึ่งก็เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยตามที่รัฐบาลแนะนำในช่วงเกิดภัยแล้งนั่นเอง.

http://www.banmuang.co.th/news/region/30175

บทความที่ได้รับความนิยม

รวบรวมองค์ความรู้ด้านเกษตร การเกษตรสมัยใหม่ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมและภูมิปัญญาในการพัฒนาสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณภาพ และมาตรฐานของสินค้าเกษตรให้ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

ขับเคลื่อนโดย Blogger.